วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

บางแก้ว

เป็นสุนัขสายพันธุ์ไทย มีถิ่นกำเนิดที่บ้านบางแก้ว อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และเชื่อว่าเกิดจากการผสมกันระหว่างสุนัขไทยกับสุนัขจิ้งจอก หลังจากนั้นในรุ่นลูกมีการผสมกับกลุ่มเครือญาติหลายชั่วอายุจนได้พันธุ์แท้ คือ บางแก้วในปัจจุบัน

ลักษณะทั่วไป

เป็นสุนัขขนาดกลาง หูตั้งตรง ขนยาวเหยียดตรงหนา และปุย ใบหน้าจะสั้น แต่ปากแหลมยาวคล้ายปากสุนัขจิ้งจอก สง่างาม เวลายืนมีขาหน้าใหญ่กว่าขาหลัง นัยน์ตาเล็กกลมสีเหลืองทองคล้ำ ส่วนของหางจะเป็นพวงแต่มีบางตัวไม่เป็นพวง สำหรับลักษณะของใบหน้าแบ่งเป็น 3 แบบ คือ

หน้าเสือ คือ มีกระโหลกใหญ่ ใบหูเล็ก แววตาดุร้าย มีขนที่คอแต่ไม่รอบคอ และไม่มีเคราใต้คาง หางมีทั้งเป็นพวงและไม่เป็นพวง ส่วนขนมีทั้งฟูและไม่ฟู
หน้าสิงห์โต คือ มีขนแผงคอใหญ่รอบคอ มีเครายาวใต้คาง กระโหลกใหญ่ ใบหูเล็กและตั้งตรง ช่วงตัวตอนหน้าใหญ่ตอนท้ายเล็ก แววตาปกติจะเซื่องซึม แต่จะดุร้ายและคล่องแคล่วว่องไวเมื่อเจอคนแปลกหน้า หางเป็นพวง จัดเป็นสุนัขที่หายากและมีราคาแพง
หน้าจิ้งจอก คือ ใบหน้าแหลม ใบหูใหญ่กว่าสองชนิดแรก หางเป็นพวง นิสัยไม่ค่อยดุร้าย

นิสัย


บางแก้ว เป็นสุนัขที่มีนิสัยค่อนข้างดุ แต่มีความซื่อสัตย์และหวงเจ้าของมากเป็นพิเศษ ไม่ชอบคนแปลกหน้า มีความสามารถในการดมกลิ่นและจำเสียงเป็นเลิศ ตื่นตัวตลอดเวลา กล้าหาญ กินอาหารง่าย ชอบเล่นน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นสุนัขที่หวงสิ่งของในบ้าน หากคนภายนอกบ้านแตะต้องจะกัดทันทีและกัดไม่ปล่อย

มาตรฐานพันธุ์


ขนาด เพศผู้ เพศเมีย
ความสูง (เซนติเมตร) 42 - 53 39 - 49
น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) 17 - 20

ขน

ลักษณะขนเป็นขนยาวสองชั้นและหนา ชั้นนอกจะเหยียดยาวและฟู ส่วนขนชั้นในจะนิ่มละเอียด และมีขนยาวที่แผงคอ

สี

มีสีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

สีเดียว เช่น ขาว, ดำ, น้ำตาล, เทา และนาก
สีประ หรือสีผสม เช่น ขาว – ดำ, ขาว – น้ำตาล, ขาว – นาก และเทาน้ำตาล
สีที่นิยม คือ ขาว, ขาว – น้ำตาล, ขาว – ดำ, ดำ และ ลายเสือ

หลักเกณฑ์การให้คะแนนในการประกวดสุนัขไทยหลังอาน

ปาก 20 คะแนน
หู 20 คะแนน
กระโหลกหัว 10 คะแนน
หาง 20 คะแนน
ขน 10 คะแนน
รูปร่าง 10 คะแนน
ความสมบูรณ์ของร่างกาย 10 คะแนน
รวม 100 คะแนน


การเลือกซื้อลูกสุนัขบางแก้ว 

ข้อคิดในการเลือกซื้อสุนัขบางแก้ว - สุนัขบางแก้วเป็นสุนัขพื้นบ้านที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี โดยธรรมชาติของสุนัขบางแก้วแล้ว มีความรักเจ้าของ และสวยงามคล้ายสุนัขพันธุ์ต่างประเทศที่มีขนยาวสวยงาม หางเป็นพวง และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทย เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ แต่ว่าสุนัขบางแก้วมีข้อเสียเรื่องความดุ และบางครั้งอาจจะก้าวร้าวอาจมีปัญหาเรื่องพฤติกรรม อารมณ์ ฉะนั้นสุนัขบางแก้วควรได้รับการเลี้ยงดูและการฝึกให้อยู่ร่วมกับคนในสังคมอย่างถูกต้อง

โดยสามารถเริ่มฝึกให้สุนัขมีการเรียนรู้พร้อมๆ กับการเลี้ยงดูได้ตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข เพื่อให้สุนัขมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าของและสุนัข เพื่อให้เกิดการยอมรับและการไว้ใจ สามารถเข้าสังคมได้ดี เรื่องของพฤติกรรมและอารมณ์ของสุนัขจะดุหรือก้าวร้าวนั้นมีสาเหตุหลักประกอบด้วยสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ พันธุกรรม และส่วนที่สองคือการเรียนรู้(การฝึก) 

ดังนั้นก่อนการตัดสินใจในการเลี้ยง ผู้เลี้ยงควรพิจารณาดังนี้ 

1. พันธุกรรม
เนื่องจากพันธุกรรมและอารมณ์ของสุนัขเมื่อโตเต็มที่นั้น ส่วนหนึ่งถ่ายทอดทางสายเลือด ดังนั้นก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อลุกสุนัขนั้นควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อที่จะได้ลูกสุนัขที่ปราศจากข้อบกพร่องที่ถ่ายทอดมาทางสายเลือด เพราะว่าข้อบกพร่องเหล่านี้มีผลต่อพฤติกรรม และอารมณ์ของสุนัขอย่างมากในอนาคตเพราะสุนัขที่ถ่ายทอดสายเลือดไม่ดีอาจจะเป็นผลให้เกิดความพิการในจุดที่มองเห็น และมองไม่เห็นยังเป็นผลทำให้สุนัขต้องทนทุกข์ทรมานในความ
เจ็บปวดเป็นเวลานาน และเป็นสาเหตุให้สุนัขมีสุขภาพจิตไม่ดี มีพฤติกรรมออกมาทางในสิ่งที่เราไม่ต้องการ เช่น ก้าวร้าว ดุ หรือสุนัขกัดเจ้าของได้

สำหรับหลักในการพิจารณาลักษณะที่ดีของสุนัขบางแก้วที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกซื้อ มี ดังนี้ 

1. เลือกหูเล็กกว่าทุกตัวในครอกเดียวกัน ถ้าในกรณีที่ดูไม่ออกว่าเล็กกว่ากันหรือไม่คงต้องดูว่าคุณชอบตัวไหนมากกว่าเพราะสุนัขขณะที่ยังเล็กก็ดูเล็กไปหมดทุกส่วน

2. กะโหลกศีรษะใหญ่ กระหม่อมแบนราบ หน้าผากโหนก ลักษณะนี้สุนัขบางแก้วไม่ได้มีทุกตัว เพราะเนื่องจากต้องขึ้นอยู่กับเชื้อสาย พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ด้วย แต่ถ้าในกรณีที่มีโอกาสเลือกจากหลายครอก ก็เลือกจากครอกที่มีกะโหลกศีรษะใหญ่ก็ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สุนัขที่มีกะโหลกศีรษะเล็กจะเป็นข้อด้อยเพราะอย่างที่บอกว่าสุนัขไม่ได้มีกะโหลกใหญ่ทุกตัว และส่วนมากสุนัขที่มีกะโหลกใหญ่ หูของมันจะตั้งขึ้นช้ากว่าสุนัขที่มีกะโหลกเล็กกว่า เพราะ
ฉะนั้นไม่ต้องตกใจ ถ้าท่านซื้อสุนัขไป 2 ตัวพร้อมกันแล้วอีกตัวหูยังไม่ตั้งต้องให้เวลาหน่อย เว้นแต่ว่าท่านโดนหลอกขายสุนัขพันธุ์อื่นแทนบางแก้ว

3. โคนหางอวบใหญ่ หางใหญ่ยาวโน้มกลางหลังในลักษณะกำลังงามไม่มากเกินไป ไม่ไพล่หลัง หางไม่ขอด ไม่ม้วน

4. ขนเส้นยาวนุ่ม ในกรณีที่ท่านเลือกซื้อตอนสุนัขยังเล็ก อย่างไรแล้วขนก็นุ่มเพราะยังไม่มีการถ่ายขน เพราะปกติสุนัขบางแก้วมีขนสองชั้น ชั้นในนุ่ม ชั้นนอกจะหยาบกว่า แต่อย่างไรก็ยังสัมผัสได้ว่านุ่มกว่าสุนัขพันธุ์ทั่วไปแน่นอน

5. สีด่างได้ลักษณะ สิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่สุนัขบางแก้วนั้นแตกต่างจากสุนัขพันธุ์ ต่างประเทศ เพราะสุนัขพันธุ์ต่างประเทศ ถ้าเป็นสีไหนก็จะเป็นสีนั้นไปทั้งตัวอาจจะมีอ่อน เข้มต่างกันเท่านั้นแต่สุนัขบางแก้ว นอกจากจะมีสีต่างกันแล้ว เช่น ขาว-เทา ขาว- น้ำตาล ขาว-ดำ ยังมีข้อแตกต่างอีกว่าในแต่ละตัวจะมีแต้ม จะมีด่างตรงไหนบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าตัวใดจะมีลักษณะสวยงามอย่างไร อย่างเช่น บางตัวอาจแบ่งสีได้อย่างชัดเจนว่ามี 3 ส่วน คือ ส่วนหัว กลาง ท้าย บางตัวก็อาจไม่เป็นเช่นนั้น แล้วแต่ว่าจะชอบแบบไหน หรือบางทีสีด่างอยู่ที่ตำแหน่งอื่นแต่ก็สวยไม่แพ้กันก็มี

6. หน้าแด่น หรือแบ่งเป็นเส้นจากปลายปากถึงกะโหลกศีรษะ ถ้ามีน้อยไม่ยาวมากเรียกว่า แด่น แต่ถ้าเส้นยาวมีมากและแยกส่วนศีรษะออกเป็นสองส่วนเรียกว่า แบ่ง คุณลักษณะนี้เป็นลักษณะที่ถ้าสุนัขมีก็ตรงตามลักษณะที่สวยงามตามเกณฑ์ แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ก็ไม่ได ้หมายความว่าไม่ใช่สุนัขบางแก้ว เพราะสุนัขบางตัวก็มีลักษณะเด่นอย่างอื่นแทนลักษณะที่ด้อยของตัวมันเองก็ได้

7. ปลายปากแหลมเล็ก ถ้าปลายปากขาวเป็นวงรอบปลายปาก เรียกว่า ปากคาบแก้ว

8. จมูกดำ ลูกนัยน์ตาเล็กมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม

9. ขาใหญ่ ลักษณะที่ดี ขาหน้าจะต้องใหญ่กว่าขาหลัง

10. รูปร่างสวยงามเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งท่านสามารถศึกษาดูได้จากมาตรฐานพันธุ์ว่ารูป
สี่เหลี่ยมดูจากส่วนใดของสุนัข

11. มีสุขภาพดี ร่าเริง ไม่อยู่นิ่ง

ทั้งนี้ ทั้งนั้นในการเลือกซื้อแต่ละครั้งคงไม่จำเป็นว่าท่านจะต้องได้สุนัขที่มีลักษณะเด่นถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทุกอย่าง เพราะบางครั้งขึ้นอยู่กับความพอใจว่าชอบตัวไหน จุดประสงค์ในการซื้อว่าท่านจะนำไปประกวดหรือไม่ หรือเพียงเพื่อนำไปเลี้ยงเป็นเพื่อนที่ซื่อสัตย์คอยเฝ้าบ้าน หรือเป็นเพื่อนเล่นแก้เหงา และอีกอย่างขึ้นอยู่กับงบประมาณของท่านเองด้วยว่า พอที่จะซื้อในราคาแบบใด เพราะในแต่ละตัวมีลักษณะที่เด่น และด้อยต่างกัน ทำให้ราคาก็ต่าง
กันด้วย

ชิวาวา


Chihuahau สุนัขพันธุ์นี้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 มีถิ่นกำเนิดในดินแดนที่เป็นประเทศเม็กซิโกในปัจจุบันในการค้นพบทวีปอเมริกาของ CHRISTOPHER COLUMBUS ก็มีบันทึกการค้นพบสุนัขพันธุ์ชิวาวานี้ด้วย จากตำนานกล่าวว่าชาวพื้นเมืองนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์ชิวาวามาก และเกิดความเชื่อถือในเรื่องโชคลางต่างๆ ตลอดจนมีการนำสุนัขพันธุ์นี้ไปใช้ในพิธีบูชายันต์ มีผู้พบภาพสลักของสุนัขพันธุ์ตามก้อนหินต่างๆ และในถ้ำสุนัขพันธุ์ชิวาวามี 2 ชนิด คือ ชนิดขนสั้นและชนิดขนยาว


มาตราฐานสายพันธุ์ 

อุปนิสัย : ฉลาด ร่าเริง ตื่นตัวอยู่เสมอ

ศีรษะ : หัวกะโหลกมีลักษณะกลม แก้มค่อนข้างเล็ก

หู : มีขนาดใหญ่ ใบหูตั้งพันธุ์ขนยาว บริเวณหูจะมีขนยาว

ตา : มีลักษณะกลมโต

ปาก : มีขนาดค่อนข้างเล็ก

จมูก : ค่อนข้างส้น มีหลายสีขึ้นอยู่กับสีของขน

ฟัน : ขาว แข็งแรง ขบแบบกรรไกร

ลำตัว : ความยาวของลำตัวมีขนาดยาวกว่าความสูงเส้นหลัง ตรงอยู่ในแนวระดับ

คอ : มีลักษณะกลม หัวไหล่เล็ก ชนิดขนยาวบริเวณจะมีขนมาก

อก : ค่อนข้างกว้าง

ขาหลัง : มีกล้ามเนื้อมาก ข้อเท้าหลังแข็งแรง ขาหลังอยู่ห่างกันพอเหมาะมองจากด้านหลัง ขาหลังตรงไม่บิด เท้ามีขนาดเล็ก นิ้วเท้าชิดเล็บค่อนข้างยาว

หาง : มีขนาดค่อนข้างยาว ลักษณะโค้งคล้ายเคียว อาจจะม้วนหางยกสูง

ขน-สี : ชนิดขนสั้นขนค่อนข้างนุ่มและสั้นทั่วทั้งตัว ชนิดขนยาวบริเวณหู อก ลำตัว ขา มีขนยาว สีมีหลายสี เป็นสีเดียวทั่วตัว แต่อาจจะมีสีจางบางส่วนได้

ขนาด : เป็นสุนัขที่มีขนาดเล็กมาก

น้ำหนัก : มีน้ำหนักไม่เกิน 6 ปอนด์

การเดิน-วิ่ง : มีความสง่างาม

ข้อบกพร่อง : หางตัด หูตก น้ำหนักเกิน 6 ปอนด์

แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย

แจ็ค รัสเซลล์ได้มีการเพาะพันธุ์สายพันธุ์ขึ้นมาใหม่เมื่อต้นปี ค.ศ. 1800 ในประเทศอังกฤษโดยศาสนจารย์ Jack Russell ซึ่งภายหลังสุนัขพันธุ์ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า Jack Russell Terrier (JRT) ตามชื่อของท่านศาสนจารย์ นอกจาก Jack Russell Terrier จะมีชื่อตามศาสนจารย์ที่เรียกกันแล้ว ก็ยังมีบางครั้งที่คนมักเรียกก็คือ PARSON JACK RUSSELL

โดยทั่วไปแล้วสุนัขสายพันธุ์กลุ่ม TERRIER จะใช้ในการล่าสัตว์และติดตามเหยื่อไปหลังจากที่เหลือ โดยสุนัขในกลุ่ม HOUND ไล่ต้อนมาก่อนหน้านี้แล้ว

สายพันธุ์ของ Jack Russell Terrier ในอเมริกาและอังกฤษ ขนาดของสุนัขจะอยู่ที่ 10-15 นิ้ว แต่ในออสเตรเลีย Jack Russell Terrier จะถูกแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์คือ Jack Russell จะมีขนาด 10-12 นิ้ว PARSON JACK RUSSELL ขนาด 12-14 นิ้ว ลักษณะขนของ Jack Russell Terrier มีด้วยกัน 3 แบบ คือ ขนสั้น ขนหัก และขนยาว ขนหักและขนยาวจะค่อนข้างหยาบเมื่อเทียบกับขนสั้น แต่ขนสั้นก็ไม่ควรจะอ่อนนุ่มและเป็นมันจนเกินไป เนื่องจากขนเหล่านี้ช่วยปกป้องสุนัขในเวลาที่ออกไปล่าสัตว์

ขน ขนควรจะมีสีขาวตั้งแต่ 51% หรือมากกว่าขึ้นไปในร่างกาย และมี MARKINGS เป็นสีน้ำตาลหรือดำ หรือทั้งน้ำตาลและดำ ซึ่งเรียกว่า TRI COLOURED MARKING ของสุนัขพันธุ์นี้ส่วนใหญ่จะพบที่บนใบหน้า รอบตา หู ที่ก้นถึงหางและเล็กน้อยบนลำตัว

ลักษณะทั่วไป ในการเลือก Jack Russell Terrier คือควรจะมีกะโหลกโต หูต้องเป็นรูปตัว V และตกไปทางด้านหน้า จมูกและริมฝีปากต้องมีสีดำ ตาควรเป็นสีน้ำตาลเข้มรูปถั่วอัลมอนด์ แฝงด้วยแววตาขี้เล่นและขี้สงสัย ขาต้องตรงและมีกล้ามเนื้อที่ต้นขา หางต้องสั้นและชี้ขึ้น

ผู้ที่ต้องการเลี้ยง Jack Russell Terrier ควรมีคุณสมบัติดังนี้ 

1. Jack Russell Terrier เป็นสุนัขตื่นตัวตลอดเวลา มันควรได้รับการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรอยู่ในความควบคุมดูแลและควรได้รับการฝึกสอนจากเจ้าของหรือฝึก
2. Jack Russell Terrier เป็นสุนัขที่ต้องการการเอาใจใส่ดูแลและเวลาจากเจ้าของอย่างมาก เนื่องจากเป็นสุนัขที่ชอบเข้าสังคมและขี้เล่น
3. ผู้เลี้ยง Jack Russell Terrier ควรจัดระบบการเลี้ยงให้ถูกต้อง เช่นต้องมีรั้วรอบขอบชิด เพราะ สามารถกระโดดได้สูงมาก รวมถึงปีนป่าย แม้กระทั่งขุดรูเพื่อหนีเที่ยวถ้ามันรู้สึกเบื่อหรืออยากหาอะไรสนุกตื่นเต้นทำ
4. เพื่อความปลอดภัยของสุนัข ผู้เลี้ยง Jack Russell Terrier ควรจะใช้สายจูงตลอดเวลาที่พาไปเดินเล่น เนื่องจาก Jack Russell Terrier เป็นสุนัขที่มีความรวดเร็วและคล่องตัวสูงมาก

อเมริกัน ค็อกเกอร์

ลักษณะท่าทางโดยทั่วไป เป็นสุนัขขนาดกลาง มีอุปนิสัยร่าเริง แจ่มใสตลอดเวลา

มาตราฐานสายพันธุ์ 
ศีรษะ : กะโหลกกว้างเล็กน้อย มีความสมส่วนกับขากรรไกร
ขากรรไกร : มีความสมส่วนกับกะโหลกจากกะโหลกมาถึงขากรรไกร มีจุดตก (STOP) อย่างเห็นได้
ฟัน : เรียงกันเป็นระเบียบ ขบกันแบบขากรรไกร ขาว และไม่เล็กจนเกินไป
จมูก : มีความสมดุลกับขากรรไกร แต่จะต้องมีสีดำ
ตา : ตากลม ดวงตามีสีน้ำตาลเข้ม มีแววตาสดใส
หู : หูยาวและกลม ตำแหน่งของหูอยู่ระดับเดียวกับตา ความยาวของหูต้องถึงปลายจมูก มีขนขึ้นปกคลุม
คอและไหล่ : คอมีความยาวสมส่วนกับลำตัว และคอต้องตั้ง ยามเคลื่อนไหวเส้นหลังลาดลงมาจากหัวไหล่
ลำตัว : มีความกระชับ
หาง : ตำแหน่งของหางอยู่เหนือบั้นท้าย และตัดออกให้สมส่วน และชี้ไปทางด้านหลัง
ขาและเท้า : มีขนขึ้นปกคลุมที่ขาและเท้า ขาตรง นิ้วเท้ากำแน่น มีความแข็งแรง
ขน : ขนที่หัวและหลังจะสั้นเรียบ มีความสะอาดเป็นเงางาม บ่งบอกถึงสุขภาพที่ดี
การเคลื่อนไหว : ขาทั้ง 4 สัมพันธ์กัน มีความสมดุลและสง่างาม
ขนาด : ความสูงวัดจากขาถึงหัวไหล่ สุนัขเพศผู้ สูง 15 นิ้ว , สุนัขเพศเมีย สูง 14 นิ้ว 

หลังอาน


สุนัขไทยหลังอาน เป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย คือ ในจังหวัดตราดและจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดจันทบุรี และระยองจึงจัดเป็นสุนัขพื้นเมืองในบริเวณดังกล่าว
ลักษณะทั่วไป

เป็นสุนัขขนาดกลางมีรูปร่างใกล้เคียงกับสุนัขพื้นเมืองไทยทั่วไป แต่มีลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณะประจำพันธุ์ คือ บนหลังมีอานอยู่ด้านบน คล้ายว่ามีอานม้าวางอยู่บนหลัง มีรูปร่างลักษณะสง่างาม หน้าเชิด หูตั้ง หางทอดโค้งเหมือนดาบงอน ลิ้นมีปานสีดำ แต่เดิมใช้ในการล่าสัตว์เพราะมีความคล่องแคล่วว่องไว สำหรับอานที่เกิดบนหลังที่ดีจะต้องมีขนาดใหญ่ อานของสุนัขเกิดจาก 2 ลักษณะดังนี้

1. ขนที่ชี้ย้อนกลับไปด้านหน้า และไม่ได้เกิดจากขวัญ
2. ขวัญ ขวัญจะวนเป็นรูปก้นหอยจากไหล่ทั้ง 2 ข้างแล้วมาบรรจบกันที่หัวไหล่ เป็นวงกลมใหญ่ และเรียวลงมาตามแนวกระดูกสันหลังจรดโคนหางเหมือนอานม้า

การเกิดขวัญ ในตำแหน่งและจำนวนที่ต่างกัน มีผลทำให้เกิดรูปร่างของอานแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถแบ่งได้ 8 ชนิด ดังนี้

1. อานเข็ม มีขนาดเล็ก และไม่มีขวัญ
2. อานแบบแผ่น หรือ อานม้า ขนาดใหญ่เต็มแผ่นหลังและไม่มีขวัญ
3. อานแบบเทพพนม ขนบนหลังจะไม่ชี้ย้อนไปด้านหัวแต่จะชี้ชนกันกลางแนวสันหลัง เหมือนใช้นิ้วประสานกันพนมไหว้ และไม่มีขวัญบนหลัง
4. อานแบบหัวลูกศรหรือธนู เกิดจากการมีขวัญ 2 ขวัญบนหัวไหล่
5. อานแบบพิณ เกิดจากขวัญจำนวน 3 – 4 ขวัญ คือ ที่บริเวณหัวไหล่ 1 – 2 ขวัญ และบริเวณกึ่งกลางลำตัว 2 ขวัญอยู่กันคนละฝั่ง
6. อานแบบใบโพธิ์ ขวัญจะกว้างเต็มแผ่นหลังและเรียวยาว แต่ไม่ถึงโคนหาง
7. อานแบบไวโอลีน เกิดจากขวัญตั้งแต่ 3 – 5 ขวัญ คือ คู่แรกอยู่บนหัวไหล่หน้า ส่วนคู่ที่ 2 จะเกิดค่อนไปด้านหาง
8. อานแบบลูกโบว์ลิ่ง เกิดจากขวัญ 4 – 5 ขวัญ คือ บริเวณหัวไหล่อาจมี 1 ขวัญ หรือไม่มีก็ได้ บริเวณกลางลำตัวมี 1 คู่ อยู่ชิดกันเป็นช่องที่แคบ และมีขวัญอีก 1 คู่ที่เหนือโคนขาหลังโดยอยู่ห่างกัน และดูกว้างกว่าคู่แรก

นิสัย สุนัขไทยหลังอานเป็นสุนัขขนาดกลาง ได้ชื่อว่ารักเจ้าของมาก ซื่อสัตย์ ไม่ดื้อประจบเก่ง สุภาพ และฉลาด แต่มีความดุร้ายพอสมควรเมื่อเจอคนที่ไม่ใช่เจ้าของ

มาตรฐานพันธุ์
ขนาด เพศผู้ เพศเมีย
ความสูง (เซนติเมตร) 52.5 - 62.5 47.5 - 57.5
น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) 22 - 24 20 - 22

ขน สุนัขไทยหลังอานจะมีขนสั้น แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบกำมะหยี่ ขนจะสั้นเกรียนติดผิวหนังและมีความนุ่ม และแบบสั้นแต่ไม่เกรียนติดหนัง

สี สีควรเป็นสีเดียวทั้งตัว ส่วนสีที่พบได้ คือ น้ำตาล, น้ำตาลแดง, น้ำตาล อ่อน, น้ำตาลดำ, ขาว, กลีบบัว และสีสวาท

หลักเกณฑ์การให้คะแนนในการประกวดสุนัขไทยหลังอาน
อาน 20 คะแนน
ขนาด และลักษณะทั่วไป 20 คะแนน
ลำตัว 15 คะแนน
หาง 10 คะแนน
ขน 10 คะแนน
หัว - ตา 10 คะแนน
ขา - เท้า 10 คะแนน
หู 10 คะแนน
รวม 100 คะแนน 

เวสต์ไฮด์แลนด์ไวท์เทอเรียร์

สุนัขพันธุ์นี้มีขนาดเล็ก ชอบความสนุกสนาน ร่างกายมีความสมดุล แข็งแรง มีการนำเสนอและอวดตัวเองได้ค่อนข้างดี ไม่หวงตัวมาก มีโครงสร้างร่างกายที่ดี แข็งแรง มีอกที่ลึกและซี่โครงดีมีหลังตรง และลำตัวด้านหลังเต็มไปด้วบพลังจากกล้ามเนื้อของขาร่วมกับการแสดงออกของสุนัข ทำให้เพิ่มระดับความแข็งแรงและความคล่องแคล่ว ความยาวของขนประมาณ 2 นิ้ว เป็นขนสีขาวค่อนข้างแข็ง แต่ขนชั้นในนิ่ม ขนที่ยาวกว่าจะอยู่บริเวณด้านหลังและด้านข้าง ควรมีการเล็มขนให้สั้นในบริเวณคอและขนบริเวณไหล่ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือขนบริเวณรอบคอด้านบนต้องปล่อยไว้ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวโดยแผ่เป็นรูปวงกลมรอบๆใบหน้า






มาตราฐานสายพันธุ์ 
ขนาด : ในตัวผู้ขนาดไม่ควรเกิน 11 นิ้ว เมื่อวัดจากตะโหนก ในตัวเมียไม่ควรเกิน 10 นิ้ว ถ้าผิดไปจากนี้เล็กน้อยยอมรับได้ สุนัขพันธุ์นี้เป็นสุนัขขนาดกะทัดรัด ด้วยสัดส่วนและสมดุลที่ดี ลำตัวต้องระหว่างตะโหนกถึงหางจะสั้นกว่าความสูงเล็กน้อย มีขาที่สั้นแต่กระดูกเจริญดี แข็งแรง
ลักษณะที่ผิด มีความสูงมากกว่าหรือน้อยกว่าที่กำหนดไว้ กระดูกใหญ่
ศีรษะ : มีลักษณะกลมเมื่อมองจากด้านหน้า มีสัดส่วนที่พอเหมาะกับร่างกาย แววตาที่อยากรู้อยากเห็น ชอบค้นคว้า ทะเล้น นัยน์ตาตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน มีขนาดปานกลาง รูปทรงอัลมอนด์ สีน้ำตาลเข้ม ตาค่อนข้างลึก ตาคมและมีแววเฉลียวฉลาด มองจากด้านล่างมีขนคิ้วที่หนา ขอบตาดำ
ลักษณะที่ผิด ขนาดเล็ก ตาโปน หรือสีซีด
หู : ใบหูเล็ก ตั้งตรงเสมอ ตั้งห่างกันอยู่ด้านบนของขอบนอกของกะโหลก ปลายใบหูค่อนข้างแหลม หูต้องไม่ตก ขนที่ใบหูต้องได้รับการตัดและเล็มอยู่เสมอ สุนัขต้องขยับใบหูได้อย่างอิสระ สุนัขผิวสีดำถือว่าปกติเป็นที่นิยม
ลักษณะที่ผิด ใบหูกลม กว้าง ใหญ่ หูตั้งชิดกัน ไม่ตั้งตรง หรือตั้งอยู่ต่ำเกินไป
กะโหลก : มีความกว้างกว่าด้านยาวเล็กน้อย แต่ไม่แบนตรงบริเวณส่วนบนสุด มียอดเล็กน้อยระหว่างใบหู แล้วลาดลงมาบริเวณนัยน์ตา มีจุดสต๊อบที่ชัดเจน มีคิ้วที่หนา
ลักษณะที่ผิด กะโหลกที่แคบหรือกว้างเกินไป
ปาก : ไม่แหลม สั้นกว่าส่วนกะโหลก เต็มไปด้วยพละกำลังแล้วลาดลงมาสู่ปลายจมูก ซึ่งใหญ่และสีดำ ขากรรไกรได้ระดับและแข็งแรง ริมฝีปากต้องเป็นสีดำ
ลักษณะที่ผิด ส่วนปากยาวกว่าส่วนกะโหลก จมูกมีสีอื่นที่ไม่ใช่สีดำ
การสบกันของฟัน ฟันต้องใหญ่เหมาะกับขนาดของสุนัข ฟันตัดอย่างน้อย 6 ซี่ ระหว่างฟันเคี้ยว ทั้งฟันบนและฟันล่าง การไม่มีฟันกรามเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ฟันตัดบนอาจอนยู่เหลือครบ เหลือฟันตัดล่างเล็กน้อยยอมรับได้
ลำตัว : คอเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อและลาดลงไปยังไหล่ได้ดี ความยาวของลำคอต้องได้สัดส่วนของสุนัข
ลักษณะที่ผิด ลำคอสั้นหรือยาวเกินไป
ส่วนบนของลำตัว : เรียบและได้ระดับทั้งขณะที่ยืนและวิ่งหรือเดิน
ลักษณะที่ผิด บั้นท้ายสูงเกินไปตัวบิด
ลำตัว : กะทัดรัดได้สัดส่วนดี อกลึกอย่างน้อยลงไปถึงข้อศอกสุนัข
ลักษณะที่ผิด อกตื้น แคบหรือแอ่น ยาวหรือสั้นเกินไป อกที่เป็นถังเบียร์
หาง : ต้องสั้น ได้สัดส่วน ลักษณะคล้ายแครอท ขณะยืนต้องสูงไม่เกินกะโหลก ปกคลุมไปด้วยขนที่แข็ง ต้องตรงมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หางชี้ชันแต่ต้องไม่แตะหลัง ต้องไม่ตัดหาง
ลักษณะที่ผิด ตั้งอยู่ในตำแหน่งต่ำ หางยาวมากเกินไป ขนบางมาก หางม้วนขอดอยู่บนหลัง
ขาหลัง : เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ทำมุมดี ขาไม่ถ่างมากนัก ขาบิดรงบริเวณข้อขาบนขาสั้นและขนานกัน เมื่อจากด้านท้าย
ลักษณะที่ผิด ขาบิดหรือขาถ่างมาก ไม่มีมุมระหว่างข้อ ข้อเท้ามีลักษณะคล้ายเท้าวัว
อุ้งเท้า : อุ้งเท้าหลังเล็กกว่าเท้าหน้า มีอุ้งเท้าหนา อาจมีการตัดนิ้วติ่
ขน : มีความสำคัญมาก ซึ่งนานๆครั้งจะพบว่าสุนัขมีขนที่สมบูรณ์แบบ ขนต้องเป็น 2 ชั้น เพื่อให้ศรีษะได้รูปต้องมีการดึงขนทิ้ง เพื่อให้ได้ใบหน้าที่กลม ขนชั้นนอกแข็ง ชี้ตรง สีขาว มีความยาวประมาณ 2 นิ้ว ขณะที่ขนบริเวณและคอจะสั้นกว่า อาจมีการตัดแต่งขนเพื่อให้ได้รูปทรงตามมาตรฐานสายพันธุ์ จะมีขนที่ยาวบริเวณตำแหน่ง และขา ขนที่ดีคือสีขาว แข็ง ตรง ขนชั้นในนิ่ม
สีขน : ต้องเป็นมีขาว ตามชื่อสุนัข
การก้าวย่าง : เป็นอิสระ เดินตรงและเลี้ยวกลับไปมาง่าย มีอิสระและพลังขับเคลื่อนที่ดี
อารมณ์ : ทะเล้น สดใส ร่าเริง เป็นมิตร กล้าหาญ เชื่อมั่นในตนเอง
ลักษณะที่ผิด ขี้ขลาด ขี้อาย หรือมีนิสัยนักเลง ชอบต่อสู้

เยอรมันเช็พเพอด

มีถิ่นกำเนิดในประเทศเยอรมัน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อัลเซเชี่ยน" ผู้คนนับพันนับหมื่นที่ต้องอยู่ในโลกมืด ได้อาศัยเจ้าเยอรมันเช็พเพอดนี่แหละที่คอยเป็นพี่เลี้ยงนำทางไหนต่อไหนได้ พิทักษ์สันติราษฎร์ในเยอรมันนี แคนาดา ตามตรอกซอกซอยของบัลติมอร์ หรือในสวนสาธารณะของไฮด์ปาร์คที่มืดสลัว ไปด้วยม่านหมอกในใจกลางกรุงลอนดอน ย่อมรู้ดีว่าเขาเป็นเพื่อนร่วมงานรักษากฎหมาย ที่ไม่ย่นระย่ออย่างใดทั้งสิ้น เขาทำหน้าที่เฝ้าเหมืองเพชรในคิมเบอร์ลี่ย์ก็ได้ เฝ้าโรงเรียนในนิวยอร์คก็ได้ หรือให้เฝ้าฐานทัพอากาศที่ทริโปลีก็ได้ ไม่มีใครสามารถคำนวณได้ว่าสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอด ได้ช่วยชีวิตคนไว้เท่าไรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่สอง โดยที่การดมกลิ่นหาทหารบาดเจ็บบ้าง ถือสารและลำเลียงเวชภัณฑ์บ้าง คอยเตือนหน่วยลาดตระเวนในป่าต่อการถูกซุ่มโจมตีบ้าง ตลอดจนการตรวจรักษาแนวชายฝั่งทะเลเพื่อกันการก่อวินาศกรรม และค้นหาชาวบ้านที่ถูกซากปรักหักพังทับถมอยู่เนื่องจากการถูกระเบิดทางอากาศ ในยามไม่มีศึกสงคราม มันก็ทำงานเป็นการกุศล เนื่องจากจมูกที่ไวสามารถนำคนค้นหาพวกที่ถูกหิมะถล่ม ฝังเอาไว้ในเทือกเขาแอลป์ของสวิส ในปัจจุบันสุนัขพันธุ์นี้มีรูปร่างที่สวยงาม เฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง เป็นผลมาจากการผสมของสุนัขต้อนแกะหลายชนิดมานับศตวรรษ ซึ่งรวมเอาสุนัขที่มีขนาดย่อมแต่ว่องไวของท้องทุ่งเยอรมันภาคเหนือ กับสุนัขที่โตล่ำสันกว่าของภูมิภาคที่เป็นขุนเขาทางใต้เอาไว้ด้วย แม้จะสิ้นศตวรรษที่ 19 ยุคเลี้ยงแกะของเยอรมันได้สิ้นสุดลง แต่อย่างไรก็ตามนักเพาะพันธุ์สุนัขไม่กี่คนก็ยังพยายามสงวนพันธุ์อันมีคุณสมบัติอันวิเศษในการเลี้ยงแกะเอาไว้ ซึ่งนับว่าควรแก่การยกย่องมากที่สุดได้แก่ ร้อยเอกทหารม้าผู้หนึ่งชื่อ มาร์กฟอนสเตฟานิตช์ ซึ่งได้ลงเรี่ยวลงแรงแข็งขัน เพื่อที่จะทำให้สุนัขพันธุ์นี้เข้ามาตรฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1889 และได้เจริญเติบโตเรื่อยมาจนมาเป็นสโมสรสุนัขที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง โดยการเพาะพันธุ์สุนัขอย่างเดียว จากความพยายามของร้อยเอกฟอนสเตฟานนิตช์กับพรรคพวก ที่ได้พยายามเสาะหาสุนัขที่ใช้งานได้ดีและฉลาด และแล้วผลที่ได้ก็น่าภาคภูมิใจ ที่เมื่อมองสุนัขพันธุ์นี้ขณะที่มันปฏิบัติตามคำสั่งของนายโดยไม่ผิดพลาด

มาตรฐานสายพันธุ์ 
ลักษณะโดยทั่วไป สิ่งที่ประทับใจของผู้ที่ได้พบเห็นเยอรมันเช็พเพอดที่ดีคือ ความแข็งแรงว่องไว เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อตื่นตัวและมีชีวิตชีวา มองโดยรวมแล้วจะกลมกลืนและได้สัดส่วนกันระหว่างส่วนหน้าและส่วนท้าย ตัวจะยาวกว่าส่วนสูง ลำตัวลึก เส้นรอบตัวจะเป็นเส้นโค้งที่กลมกลืนแทนที่จะเป็นเหลี่ยมมุม มีขนาดค่อนข้างใหญ่และอ่อนแอ ให้ความรู้สึกไม่ว่าจะอยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวถึงความกระชับของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนที่อย่างนุ่มนวล
อุปนิสัย : เยอรมันเช็พเพอดมีบุคลิกที่เด่นชัดคือ มีการแสดงออกถึงความไม่หวาดหวั่นแต่ก็ไม่ก้าวร้าว มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกระตือรือร้นและตื่นตัวกระฉับกระเฉง เต็มใจจะรับใช้เต็มที่ในลักษณะของการเป็นเพื่อน เป็นสุนัขเฝ้าบ้านนำทางผู้ที่อยู่ในโลกมืด เป็นสุนัขต้อนฝูงสัตว์ หรือทำหน้าที่อารักขา สุนัขจะไม่ขี้ขลาดหรือหลบอยู่หลังผู้เป็นเจ้านาย ไม่ควรจะอ่อนไหว ไม่มองไปรอบๆ หรือแหงนหน้ามอง ไม่แสดงอาการตื่นตระหนก โดยจะหางตกเมื่อได้ยินเสียงหรือมองเห็นสิ่งแปลกๆ หากสันขมีอุปนิสัยดังกล่าวข้างต้นจะถูกตัดสินว่ามีความบกพร่องอย่างร้ายแรง สุนัขจะต้องยอมให้กรรมการตรวจฟันและลูกอัณฑะ ถ้าหากสุนัขกัดกรรมการจะต้องถูกไล่ออกจากสนามประกวด สุนัขที่อยู่ในอุดมคติควรที่จะสามารถใช้งานในลักษณะที่ไม่หยิบโหย่ง ผสมผสานกับลำตัวและการก้าวย่างที่เหมาะกับงานการที่ทำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน
ศีรษะ : แลดูสง่างาม ถูกสลักเสลาอย่างเรียบร้อย แข็งแรงได้สัดส่วนกับลำตัว ศีรษะของเพศผู้แลดูล่ำสัน ส่วนเพศเมียก็อ่อนช้อย ปากยาวและแข็งแรง มองจากด้านหน้าหน้าผากจะโค้งเล็กน้อย กะโหลกศีรษะลาดเทยาวเป็นรูปลิ่ม ดั้งจมูกจะไม่หักมาก กรามแข็งแรง
หู : แหลมพอประมาณได้สัดส่วนกับกะโหลกศีรษะและเปิดไปข้างหน้า และจะตั้งชันเมื่อตั้งอกตั้งใจ หูที่อยู่ในอุดมคติเส้นกลางของใบหูเมื่อมองจากด้านหน้า จะขนานกันและจะตั้งฉากกับพื้น หูที่ถูกตัดหรือห้อยจะต้องถูกคัดออกจากสนามประกวด
ตา : ขนาดปานกลาง รูปร่างเหมือนเมล็ดอัลมอนด์ ตั้งแบบเฉียงเล็กน้อยแต่ไม่โปนออกมา ตาควรจะดำมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ มีแววตาที่ฉลาดและเฉียบแหลม
ฟัน : 42 ซี่ ข้างบน 20 ซี่ ข้างล่าง 22 ซี่ แข็งแรงและสบกันแบบกรรไกร ฟันข้างบนยื่นไปข้างหน้าหรือการสบแบบเสมอเป็นลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ ฟันล่างที่ยื่นไปข้างหน้าเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง ถ้าหากฟันซี่อื่นที่นอกเหนือไปจากฟันกรามเล็กก็ถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงเช่นกัน
คอ : แข็งแรงและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ค่อนข้างยาวได้สัดส่วนกับศีรษะ หนังไม่หย่อนยาน เมื่อสุนัขตั้งใจหรือตื่นเต้นศีรษะจะชูสูง คอจะยืดออก โดยทั่วไปศีรษะจะยื่นไปข้างหน้ามากกว่าชูสูง แต่จะสูงกว่าไหล่เล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเคลื่อนไหว
ส่วนหน้า : แผ่นกระไหล่ยาวและทำมุมเฉียง อยู่ในแนวราบและไม่ยื่นไปข้างหน้า แขนตอนบนเชื่อมกันแผ่นกระดูกไหล่โดยทำมุมราว 90 องศา ขาหน้าไม่ว่าจะมองดูทางไหนก็เหยียดตรง และกระดูกจะเป็นรูปไข่มากกว่ากลม ฝ่าเท้าแข็งแรงและทำมุมราว 25 องศา กับแนวตั้ง
เท้า : สั้นและกระชับ นิ้วโค้งอย่างพอเหมาะ อุ้งเท้าหนาแบะเล็บแน่น สั้นและมีสีดำ ควรตัดนิ้วติ่งที่ขาหลัง แต่นิ้วติ่งที่ขาหน้ามักจะปล่อยให้อยู่อย่างเดิม
สัดส่วน : สุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอดที่นิยมกันจะอยู่ในสัดส่วนของความยาวต่อความสูงอยู่ระหว่าง 10 ต่อ 8.5 ความสูงของสุนัขเพศผู้วัดจากจุดสูงสุดของไหล่อยู่ระหว่าง 24-25 นิ้ว ส่วนเพศเมีย 22-24 นิ้ว ความยาววัดจากกระดูกอกไปยังตอนท้ายของกระดูกสะโพก
ลำตัว : โครงสร้างโดยรวมทำให้เกิดความรู้สึกถึงความลึกและแน่น แต่ไม่เทอะทะ อกควรจะเต็มและลงลึกอยู่ระหว่างขาทั้งสองข้าง อกกว้างมีเนื้อที่มากพอสำหรับหัวใจและปอด ซี่โครงยาวและโค้งไม่เป็นรูปถังเบียร์หรือแบนมากเกินไป และไปจรดส่วนอกลงไปถึงข้อศอก หากซี่โครงอยู่ในลักษณะที่ถูกต้องจะทำให้ศอกหดกลับอย่างอิสระในขณะที่สุนัขกำลังวิ่งเหยาะๆ หากกระดูกซี่โครงโค้งออกมามากเกินไปจะทำให้ข้อศอกกางออก
ท้อง : กระชับ ชายกระเบนเหน็บจะรั้งขึ้นเล็กน้อย
เส้นหลัง : จุดสูงสุดของเส้นหลังจะสูงและค่อยๆ ลาดเท
หลัง : เหยียดตรงแข็งแรงมาก ไม่แอ่นหรือโค้งขึ้น เอวมองจากด้านบนจะกว้างและแข็งแรง ความยาวระหว่างกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายและตะโพกมากเกินไปเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ตะโพกยาวและค่อยๆ ลาดเท
หาง : เป็นพวงข้อกระดูกสันหลัวข้อสุดท้ายอย่างน้อยจะยื่นไปต่อกระดูกขาหลัง หางตั้งอยู่ตรงตะโพกและห้อยลงขณะที่อยู่ในท่าพัก หางจะโค้งเล็กน้อย เมื่อสุนัขตื่นเต้นหรือกำลังเคลื่อนไหวหางจะโค้งและยกขึ้น แต่ไม่ควรโค้งไปข้างหน้าและเลยเส้นตั้งฉาก หางที่สั้นเกินเป็นข้อบกพร่องอย่างมาก หากหางถูกตัดจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้ประกวด
ส่วนท้าย : เมื่อมองจากด้านข้าง ตะโพกโดยรวมจะกว้าง ส่วนที่อยู่ระหว่างข้อต่อขาหลังและเท้า สั้นและแข็งแรง
การย่างก้าว : เยอรมันเช็พเพอดเป็นสุนัขที่วิ่งเหยาะๆ โครงสร้างถูกพัฒนามาเพื่อให้เหมาะสมกับการทำงาน การก้าวย่างควรจะเป็นไปด้วยความนุ่มนวล และยื่นเท้าออกไปสุด ราบรื่นและเป็นจังหวะ
สี : ไม่มีสีที่แน่นอน แต่จะนิยมสีเข้มมากกว่า หากจมูกสีอ่อน สีฟ้าหรือเป็นสีตับเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง หากขนสีขาวหรือมีจมูกไม่ดำจะถูกห้ามไม่ให้ลงประกวด
ขน : ควรมีขนสองชั้นและยาวปานกลาง ขนชั้นนอกควรจะแน่นมากที่สุดเท่าที่จะแน่นได้ ขนเหยียดตรง หยาบแนบไปกับลำตัว ขนชั้นนอกเป็นลอนเล็กน้อย ศีรษะรวมทั้งข้างในหู หน้าผาก ขาและเท้าจะปกคลุมด้วยขนสั้น ส่วนคอจะปกคลุมด้วยขนที่หนาและยาวกว่า ด้านหน้าของขาหน้าและขาหลังจะมีขนยาวและยื่นไปปกคลุมข้อเท้าและข้อขาหลังตามลำดับ ขนที่นิ่มและคล้ายไหม, ขนชั้นนอกยาวเกินไป, ขนเหมือนขนสัตว์และหยิกเป็นลอนเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์